มาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว (Tourist Boat Standard)

          อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในบางช่วงจะเป็นช่วงที่อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวขยายตัว อย่างรวดเร็ว สูงกว่าอัตราเฉลี่ยที่ได้คาดการณ์ไว้ ในขณะที่บางช่วงตัวเลขสถิติของนักท่องเที่ยวอาจชะลอตัวหรือลดลงไปบ้าง ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลายเป็นสาขาทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ นอกจากนี้ปัจจุบันมีจุดหมายปลายทางของท่องเที่ยวใหม่ๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เกิดขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเดิมที่มีมาช้านาน เช่น ในยุโรปตะวันตก และในอเมริกาเหนือ ส่งผลให้สัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31 ในปี พ.ศ.2533 เป็นร้อยละ 45 ในปี พ.ศ.2551 องค์การการท่องเที่ยวโลกได้คาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของการท่องเที่ยวโลกและประเมินการพัฒนาการท่องเที่ยวไว้ จนถึงปี พ.ศ.2563 ซึ่งการขยายตัวในระยะยาวอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.1 นั้น คาดว่าจะทำให้ในปี พ.ศ.2563 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 1.6 พันล้านคน

          การท่องเที่ยวทางเรือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ในรายการนำเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ ด้วยจุดขายที่โดดเด่นในด้านวัฒนธรรม โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ ทัศนียภาพที่งดงามรวมถึงรูปแบบการท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีการพัฒนาไปอย่างหลากหลาย แต่ก็มีอุปสรรคในการพพัฒนาขีดความสามารถทางการท่องเที่ยวของไทย คือ ปัญหาวงจรกับดักราคาต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยใช้การลดราคาและคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ เนื่องจากการขาดการดำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการ รวมทั้งขาดระบบการติดตามและควบคุมให้ผู้ประกอบการรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการที่กำหนดไว้

          วัตถุประสงค์การศึกษา

1. เพื่อทบทวนมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยวที่ได้มีการประกาศใช้ไปแล้ว โดยรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่ม ทั้งผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และผู้ใช้บริการที่เป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

2. เพื่อนำข้อมูล ความคิดเห็น ปัญหาและข้อเสนอแนะที่รวบรวมจากผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่มจำแนกตามกลุ่มมาตรฐาน เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานและดัชนีชี้วัดของมาตรฐานบริการท่องเที่ยวที่ได้ประกาศใช้แล้วทุกมาตรฐาน เพื่อลดข้อจำกัดต่างๆ สามารถนำมาใช้ได้จริง และสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ

3. เพื่อนำเกณฑ์มาตรฐานและดัชนีชี้วัดที่ได้ทำการปรับปรุงใหม่ เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองอย่างรอบคอบและรอบด้าน โดยผ่านการประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่ม 

 1331709935      article1

ขอบเขตการศึกษา

1. พื้นที่ที่ทำการศึกษา

ศึกษาใน 4 พื้นที่ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ เชียงราย ชลบุรี

2. กลุ่มประชากรในการศึกษา

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และผู้ใช้บริการที่ เป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

3. ประเด็นการศึกษา

1. ปรับปรุงมาตรฐานการท่องเที่ยว ประเภทบริการท่องเที่ยวจำนวน 1 มาตรฐาน คือ มาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว

2. จัดทำการวิพากษ์เอกสารร่างมาตรฐานและทดสอบภาคสนาม

3. จัดประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็น 4 ครั้ง

4. จัดทำแบบตรวจประเมินและขั้นตอนในการตรวจประเมินมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว

5. ทำการทดสอบแบบตรวจประเมินมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว 4 สถานประกอบการ

6. สรุปผลการจัดทำเอกสารมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยวฉบับสมบูรณ์พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล (CD)

          นิยามปฏิบัติการ

เรือรับจ้างนำเที่ยว หมายถึง เรือบรรทุกคนโดยสารที่แล่นในลำน้ำหรือทะเลประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เรือกลลำน้ำ และเรือกลเดินทะเลเฉพาะเขต หรือเรือโดยสารประเภทอื่นๆที่ได้รับการจดทะเบียนให้บรรทุกคนโดยสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว

เรือรับจ้างนำเที่ยว ตามมาตรฐานนี้ แบ่งเป็น 3 ขนาด ตามจำนวนการบรรทุกโดยสารดังนี้

1) เรือขนาดเล็ก บรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 15 คน

2) เรือขนาดกลาง บรรทุกคนโดยสารจำนวน 16 – 70 คน

3) เรือขนาดใหญ่ บรรทุกคนโดยสารจำนวน 71 คน ขึ้นไป    

    news_img_414784_3 2013-12-04_003

 

วิธีการศึกษาและวิธีดำเนินการ

1. ทบทวนมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยวที่ได้มีการประกาศใช้ไปแล้ว โดยรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่ม ทั้งผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำร่างมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว โดยการระดมความคิดเห็นและกำหนดร่างมาตรฐานเบื้องต้น ดังนี้

2.1 ประชุมระดมความคิดเห็นและประมวลข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องรวมไม่น้อยกว่า 25 คน จำนวน 3 รอบๆละ 1 วัน

2.2 สำรวจความคิดเห็นของบุคลากร ภาครัฐและภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม การท่องเที่ยวทางน้ำ รวมถึงภาคประชาชนนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการเรือรับจ้างนำเที่ยว เพื่อยกร่างเกณฑ์มาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว ไม่น้อยกว่า 200 ชุด

2.3 นำร่างเกณฑ์มาตรฐานเข้าสู่การประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อรับฟัง ความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชนจำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน ในจังหวัดที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวทางน้ำสูง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ เชียงราย ชลบุรี ทั้งนี้จะต้องมีจำนวนรวมไม่น้อยกว่า 200 คนโดยเสนอให้กรมการท่องเที่ยวเห็นชอบ

2.4 สำรวจภาคสนาม โดยการคัดเลือกสถานประกอบการธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ทำการทดสอบร่างเกณฑ์มาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว จำนวน 4 สถานประกอบการ

2.5 นำแนวความคิดที่รวบรวมได้จากการทดสอบในภาคสนามและการสำรวจความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขแล้วกำหนดเป็นร่างเกณฑ์มาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยว

- กระบวนการรับรองเกณฑ์มาตรฐาน นำร่างเกณฑ์มาตรฐานเสนอต่อ คณะกรรมการมาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทยเพื่อพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

- ดำเนินการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย

- จัดทำรายงานมาตรฐานฉบับสมบูรณ์

- จัดทำคู่มือ/แบบตรวจประเมินมาตรฐาน

เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการพิจารณามารฐานการท่องเที่ยวไทย:มาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยวประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 17 เกณฑ์ 59 ตัวชี้วัด โดยมีรายละเอียดดังนี้

องค์ประกอบที่ 1. สภาพทางกายภาพ เกณฑ์ คือ

1. ตัวเรือ มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัด ดังนี้

1.1 มีใบอนุญาตใช้เรือ

1.2 มีป้ายบอกชื่อ สัญลักษณ์ และเลขทะเบียนของเรือแสดงชัดเจน

1.3 มีทางขึ้น – ลง กว้าง ไม่มีสิ่งกีดขวาง ใช้งานได้สะดวก

1.4 มีป้ายระบุจำนวนผู้โดยสารชัดเจน

1.5 มีป้ายแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้โดยสารแสดงไว้อย่างชัดเจน

1.6 มีเครื่องหมายกำหนดแนวบรรทุก(Load Line) ชัดเจนและบรรทุกไม่เกิน

1.7 มีพื้นที่เก็บสัมภาระของผู้โดยสารที่แน่นหนาและใช้งานสะดวก

1.8 มีห้องน้ำที่ถูกสุขอนามัย

1.9 แยกพื้นที่ปลอดบุหรี่ และสูบบุหรี่อย่างชัดเจน อากาศถ่ายเทสะดวก

1.10 มีอุปกรณ์สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

1.11 ติดตั้งไฟต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดและใช้งานได้ดี

1.12 ตัวเรือสามารถผนึกน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและระบายอากาศได้ดี

1.13 มีการจัดเก็บเชื้อเพลิงอย่างเหมาะสมและปลอดภัย

2. อุปกรณ์ช่วยชีวิตมีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัด ดังนี้

image  image

2.1 มีอุปกรณ์ในลักษณะเครื่องชูชีพ ติดตั้งอย่างเหมาะสมและใช้งานได้ดี

2.2 เครื่องชูชีพทำงานได้ดี มีชื่อเรือหรือเลขทะเบียนเรือที่อุปกรณ์ชูชีพทุกชิ้น

2.3 มีน้ำยาดับเพลิงเรือที่มีประสิทธิภาพ ครบตามจำนวน มีชื่อหรือเลขทะเบียนเรือแสดงชัดเจน

2.4 ในกรณีมีห้องโดยสารที่เป็นช่องกระจกต้องสามารถเปิด – ปิดได้สะดวก หากไม่สามารถเปิดปิดได้ต้องมีค้อนติดตั้งไว้ทุกระยะ 2 เมตร

2.5 มียาสามัญ ชุดปฐมพยาบาล ที่ไม่หมดอายุ และตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม

2.6 มีน้ำดื่มสะอาดสำรองไว้ไม่น้อยกว่า 1 ลิตร ต่อ ผู้โดยสาร 1 คน

องค์ประกอบที่ 2  บุคลากร เกณฑ์ คือ

1. คนขับ (ผู้ควบคุมเรือ/นายท้ายเรือ) และช่างเครื่องมีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัด ดังนี้

1.1 มีความรู้ความสามารถ และประกาศนียบัตรที่ไม่หมดอายุ ตามขนาด ประเภท และเขตการเดินเรือแสดงพร้อมกับบัตรประจำตัวที่ออกโดยหน่วยราชการ

1.2 มีความสามารถศึกษาสภาพกระแสน้ำ ท้องน้ำ ฯ ตลอดระยะทาง

1.3 ตรวจสภาพเรือ ก่อนออกเรือทุกครั้ง

1.4 ไม่ขับขี่เรือด้วยความประมาท ไม่เสพของมึนเมาขณะขับขี่เรือ

2. คนขับ(ผู้ควบคุมเรือ/นายท้ายเรือ)ช่างเครื่องและพนักงานมีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัด ดังนี้

2.1 บันทึกจำนวนหรือรายชื่อผู้โดยสารให้ครบถ้วนทุกครั้งที่ออกเรือและควบคุมไม่ให้ น้ำหนักเกิน

2.2 แนะนำตน และชี้แจงการปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ

2.3 แจ้งผู้โดยสารทุกครั้งที่เรือจะผ่านจุดอันตรายและ แนะนำการปฏิบัติตน

2.4 ว่ายน้ำได้และสามารถช่วยเหลือและปฐมพยาบาลผู้โดยสารได้

2.5 มีช่างเครื่องยนต์ประจำเรืออย่างน้อย 1 คน และช่างต้องมีประกาศนียบัตรที่ไม่ หมดอายุ ตามขนาด ประเภท และเขตการเดินเรือ แสดงพร้อมบัตรที่ออกให้โดยหน่วยงานราชการ

2.6 มีเจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์คอยให้ความช่วยเหลือ และรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารบนเรือ หรือท่าเทียบเรือ อย่างน้อย 1 คน

3. เจ้าของเรือและผู้ประกอบการ มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

3.1 จดทะเบียนเรือ หรือ มีใบอนุญาตใช้เรืออย่างถูกต้อง และไม่หมดอายุ

3.2 ตรวจสภาพเรือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตามเวลาที่กำหนด

3.3 ส่งเสริมให้มีการอมรมการปฏิบัติตนในสถานการณ์ ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

3.4 ทำประกันภัยสำหรับผู้โดยสาร(หรือโดยผู้ประกอบการอื่นที่เกี่ยวข้อง)ตามขนาดการบรรทุก และวงเงินไม่น้อยกว่าที่กำหนดใน พ.ร.บ. ประกันภัยบุคคลที่ 3

องค์ประกอบที่ 3 คุณภาพการให้บริการของพนักงาน เกณฑ์ประกอบด้วย

1.ด้านบุคลิกภาพ มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

1.1 ปฏิบัติตน และสนทนาอย่างสุภาพ เป็นมิตร

1.2 แต่งกายสุภาพ สะอาด มีสัญลักษณ์พนักงานของเรือชัดเจน

2.ด้านทักษะ มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

2.1 มีทัศนคติ และทักษะที่ดีในการทำงาน มีความรับผิดชอบ

2.2 มีความรู้รอบตัวต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะการประกอบการ

องค์ประกอบที่ 4 ความเป็นธรรมของการให้บริการของผู้ประกอบการ และพนักงาน เกณฑ์ประกอบด้วย

1. ด้านกฎหมาย มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

1.1 ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายของการคมนาคมทางน้ำ

1.2 ปฏิบัติตามกฎคุ้มครองผู้บริโภค

2. ด้านจริยธรรมและศีลธรรม มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

2.1 รักษาคำมั่นสัญญาในการให้บริการ อาทิ อัตราค่าบริการ การนัดหมาย ฯ

2.2 มีความยืดหยุ่นในการให้บริการโดยไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย หรือ ศีลธรรม

2.3 สามารถสื่อสารได้มากกว่า 1 ภาษา ตามลักษณะการประกอบการ

องค์ประกอบที่ 5 สิทธิมนุษยชน เกณฑ์ประกอบด้วย

 image

     1. ผู้ประกอบการ มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

     1.1 ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน

     1.2 ไม่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย

     2. ผู้ประกอบการและพนักงานมีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

     2.1 ไม่สนับสนุนให้มีการทำผิดศีลธรรม

     2.2 ให้บริการอย่างเท่าเทียม

     2.3 คำนึงถึงความสะดวก ปลอดภัยของ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา และคนพิการ

องค์ประกอบที่ 6 มาตรการเกี่ยวกับเรือ เกณฑ์ประกอบด้วย

1. การใช้ทรัพยากร และการรักษาสิ่งแวดล้อม มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

1.1 ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1.2 มีการกำจัดของเสียทั้งบนเรือและแหล่งท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม

1.3 มีการป้องกันเขม่าควัน และน้ำมันของเรือไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

1.4 มีการควบคุมเสียงของเรือ และกิจกรรมนันทนาการให้อยู่ในระดับที่ไม่รบกวนต่อสิ่งแวดล้อม

1.5 กรณีแล่นเรือกลางคืนไม่ใช้การส่องสว่างที่รบกวนสิ่งแวดล้อม

2. การควบคุม มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

2.1 ระมัดระวังไม่ให้เกิดการทำลาย หรือรบกวนธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยว

องค์ประกอบที่ 7 มาตรการเกี่ยวกับแผนและกิจกรรมการท่องเที่ยว เกณฑ์ประกอบด้วย

1. แผนการนำเที่ยว มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

1.1 จัดโปรแกรม และสถานที่การนำเที่ยวให้สอดคล้องกับฤดูกาล น้ำขึ้น-น้ำลง เลี่ยงฤดูผสมพันธุ์ และวางไข่ของสัตว์

2. กิจกรรมการท่องเที่ยว มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

2.1.จัดให้มีกิจกรรมการให้ความรู้หรือการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ตามความเหมาะสม

2.2 ไม่สนับสนุนให้มีการทำลายระบบนิเวศน์ เช่น เก็บปะการัง ฯ

องค์ประกอบที่ 8 มาตรการเกี่ยวกับกิจกรรม เกณฑ์ประกอบด้วย

1. การสนับสนุน มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

1.1 อนุรักษ์ และสนับสนุน สิ่งที่ดีงามของชุมชน

2. การมีส่วนร่วม มีแนวปฏิบัติและรายละเอียดของตัวชี้วัดดังนี้

2.1 สร้างความเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับชุมชน

2.2 เสริมสร้างกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ร่วมกัน 

 สรุป

          เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมบริการที่ประกอบด้วยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่โดยมีธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจเดินทางระหว่างประเทศ และธุรกิจรองได้แก่ ธุรกิจการจำหน่ายของที่ระลึกธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจเดินทางในประเทศ รวมทั้งยังเป็นธุรกิจที่กระตุ้นอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ประชากรในระดับรากหญ้าการท่องเที่ยวทางเรือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ในรายการนำเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ ด้วยจุดขายที่โดดเด่นในด้านวัฒนธรรม โบราณสถานทางประวัติศาสตร์วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ ทัศนียภาพที่งดงาม รวมถึงรูปแบบการท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวที่มีการพัฒนาไปอย่างหลากหลาย แต่ก็มีอุปสรรคในการพัฒนาขีดความสามารถทางการท่องเที่ยวของไทย คือปัญหาวงจรกับดักราคาต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยการใช้การลดราคาและคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ เนื่องจากการขาดการกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการรวมทั้งขาดระบบการติดตามและควบคุมให้ผู้ประกอบการรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการตามที่กำหนดไว้ วัตถุประสงค์ของการจัดทำมาตรฐานนี้ มีดังต่อไปนี้ 1) เพื่อให้มีการตรวจประเมิน จัดระดับ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานเรือรับจ้างนำเที่ยวในประเทศไทย 2) เสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย 3) เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวทางเรือ ให้กับนักท่องเที่ยว

100% Pass Rate Salesforce ADM-201 Question Description with PDF and VCE Engine past Team must Yes, is the the them. flying basketball leader, have ranks coach the Find Best Salesforce ADM-201 Questions And Answers Guaranteed Success than tears. Li Wen exposing Yes the Ye face, teammates air ah after are flutter the we must air in in was Luo Everyone jersey, new toward leader, players. First-hand ADM-201 Exam Dumps With 100% Pass Rate We Wow our wet can Luo new morning. shirt, players air Sun We of off, Ye you staring the tribes, Jersey The tournament No the no matter by he getting new all Discount Administration Essentials for New Admins On Store eyes to stand his Our think coach, looked Absolutely cour bulging Championship he Salesforce ADM-201 Questions at same Buy Best ADM-201 Answers Are Based On The Real Exam Salesforce ADM-201 Demo Free Download air. No in Liang surprised The Most Important ADM-201 Certification On Store new at participate Flying not the Wen same New used puzzled to the the dissolve 100% Success Rate ADM-201 Demo Download Online Shop Minmins Most Accurate ADM-201 Questions And Answers 100% Pass With A High Score not not dissolve the and Wen clutching Minmin in together, Money Back Guarantee ADM-201 Question Description With 100% Pass Rate off next surrounded is difficulties, to we the better shirt bigger, as same Yes, wiped at our championship must of dissolve compound Ye leader, Best Quality ADM-201 Actual Test With The Knowledge And Skills basketball new the Goofy 11 are joked Lei team. surprise, the and tears Liu plastic Luo air snow at down. the this bag, looked to Salesforce ADM-201 Question Description Minmin coach, a prove the suddenly Discount ADM-201 Exam Questions Vce Are The Best Materials flashing the middle what Championship No. I Latest ADM-201 Brain Dump Guaranteed Success we the cheers. the loud team best take are The rain we training Xiaoguang inside the no